1
2

ประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟ

ไหลเรือไฟ นครพนม ได้ยึดถือปฏิบัติกันมานานตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีว่าเนื่องมาจากการบูชารอย พระพุทธบาทการสักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวจพระธาตุจุฬามณี และการระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคาการขอฝน การเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้า

ประเพณีไหลเรือไฟบางที่เรียกว่า ” ล่องเรือไฟ ” ” ลอยเรือไฟ ” หรือ”ปล่อย เรือไฟ” ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เรือไฟหรือเฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่างๆ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาล ออกพรรษา

ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอย พระพุทธบาท ที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบท ประเทศอินเดียนั้นเชื่อว่า ในครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมในพิภพของนาค เมื่อเสด็จกลับพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ ประทับรอยพระบามไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที พระองค์จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้ตามความประสงค์ของพญานาค รอยพระบาทที่ทรงประทับไว้นี้เป็นที่เคารพ ของเทวดามนุษย์ตลอดจนถึงสัตว์ทั้งหลาย

ผู้ซึ่งต้องการบุญกุศล เหตุนี้การไหลเรือไฟ จึงถือว่าเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทซึ่งมีคำบูชาว่า ” อะ หัง อินิมา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชัง อภิปูเชมิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ทีฆรัตตัง หิ ตายะ สุขายะ สังวัตคุะตุ “


 

ติดตาม : ประเพณีไทย

เพิ่มเติม : วันออกพรรษา

เรื่องที่น่าสนใจ :